ก่อนเริ่มขายอาหารออนไลน์ ลองสำรวจดูว่ารู้เรื่องเหล่านี้แล้วหรือยัง

ขายอาหารออนไลน์

                การเป็นเจ้าของร้านขายอาหารออนไลน์หน้าใหม่ในยุคที่การแข่งขันดุเดือด โดยเฉพาะกับคนที่เพิ่งเคยหยิบจับธุรกิจเป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่เลยก็ว่าได้ แต่จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ หากเตรียมตัวดีและวางแผนอย่างมีขั้นตอน

หาให้เจอว่าลูกค้าร้านขายออนไลน์เป็นใคร

                ในชุมชนหนึ่งและละแวกใกล้เคียงมีคนอาศัยอยู่นับร้อยพันหลังคาเรือน การจะขายอาหารออนไลน์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด ควรต้องตีกรอบกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนว่าอยากขายให้ใคร วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนทำงาน คนรักสุขภาพ หรือคนชอบกินมื้อดึก ฯลฯ เพื่อที่จะได้เต็มที่กับการลงทุน และพัฒนาเมนูให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากที่สุด เช่น ถ้าอยากขายอาหารให้วัยรุ่นเป็นหลัก ก็ต้องเน้นความสวยงามของเมนูและแพ็คเกจจิ้งไว้ก่อน ส่วนราคาขายเป็นเรื่องรอง เพราะคนรุ่นใหม่จะตัดสินใจซื้อจากอารมณ์ความรู้สึกแรกเห็นเป็นหลัก แต่ถ้าคุณอยากขายให้คนทำงานทั่วไป อาจต้องให้ความสำคัญกับปริมาณและความคุ้มค่าด้านราคามากกว่าความสวยงาม

หาให้เจอว่าโอกาสในการขายอาหารออนไลน์คืออะไร

            ต่อมาอยากให้ลองสุ่มเปิดแอปฟู้ดเดลิเวอรี่ในมือถือดูว่าร้านอาหารในละแวกที่คุณอยู่อาศัยหรือกำลังจะเปิดร้านนั้น เขาขายอะไรบ้าง แบบไหนที่มีเยอะแล้ว แบบไหนที่ยังไม่มี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโอกาสจะมาพร้อมความแตกต่าง ถ้าอยากขายให้แหวกตลาด สร้างความไม่ซ้ำใคร ก็ให้เลือกสิ่งที่คนยังไม่ขายกัน แต่ข้อควรระวังคือต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น เป็นชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในชุมชนมุสลิม แล้วเลือกขายข้าวขาหมูเพราะไม่ซ้ำใคร แบบนี้คงไม่ใช่ ดังนั้นควรใช้เวลาคิดอย่างใจเย็น อย่าไปรีบร้อน

ในขณะเดียวกัน ถ้าสิ่งที่อยากทำขายนั้นซ้ำกับร้านส่วนมาก แต่มั่นใจว่าจะสร้างสรรค์เมนูได้เจ๋งกว่า เช่น มีร้านขายขนมจีนเยอะแล้ว แต่คุณจะขายเป็นขนมจีนเส้นสดทำเองที่มีหลากสีหลากรสชาติ ซึ่งต่างจากร้านอื่นที่เป็นขนมจีนเส้นขาวทั่วไป ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ทำได้เหมือนกัน

หาให้เจอว่าจุดแข็ง-จุดอ่อนในการขายอาหารออนไลน์คืออะไร

                นอกจากนั้น ควรสำรวจดูว่าร้านของคุณที่กำลังจะเปิด มีจุดแข็งอะไรบ้าง ถ้ายังไม่มีก็สร้างมันขึ้นมา โดยที่จุดแข็งจะต้องเป็นสิ่งที่คู่แข่งในอนาคตของคุณไม่มี เช่น เป็นร้านที่ปิดดึกที่สุดในซอย ราคาถูกสุดเพราะมีแหล่งวัตถุดิบราคาดี มีระบบสะสมแต้มสมาชิก เป็นต้น

                ที่สำคัญอย่าลืมจะพิจารณาดูจุดอ่อนหรืออุปสรรคที่คุณต้องเจอ เพื่อจะได้สร้างกลยุทธ์หลีกเลี่ยงและเสริมความแกร่งให้จุดแข็งของร้านขายอาหารออนไลน์ เช่น อุปสรรคคือเส้นขนมจีนที่ทำสดใหม่หมดอายุไว แต่ข้อดีคือร้านคุณปิดดึก ดังนั้นกลยุทธ์ที่ทำได้คือจัดเซ็ทขนมจีนราคาพิเศษในช่วงก่อนปิดร้าน เพื่อระบายสินค้าให้ได้มากที่สุด

หาให้เจอว่าแอปเจ้าไหนที่เป็นมิตรกับร้านขายอาหารออนไลน์

            สิ่งสุดท้ายที่คนอยากขายอาหารออนไลน์ต้องห้ามลืมคือ “GP” หรือค่าบริการที่แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่จะเก็บจากร้าน ทำให้กำไรที่ตั้งไว้ได้รับน้อยกว่าที่คิด แอปที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมิตรกับร้านควรจะมีค่า GP ที่ไม่โหดจนเกินไป หรือไม่หักเลยจะดีที่สุด อย่างที่แอป Robinhood ทำเป็นเจ้าแรกในไทย เพื่อให้ร้านต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่ ได้มีโอกาสเติบโต

                ทั้งนี้ Robinhood เป็นแพลตฟอร์ม Food Delivery สัญชาติไทย ให้บริการโดย บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (ในกลุ่มบริษัทธนาคารไทยพาณิชย์) เปิดพื้นที่ให้ร้านอาหารสมัครฟรี ขายฟรี ไม่เสียค่า GP พร้อมเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารเพื่อขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้นด้วย

                ซึ่งทั้งหมดนี้คือเรื่องที่หากคนอยากขายอาหารออนไลน์ได้รู้และลงมือทำก่อนเริ่มกิจการ จะช่วยให้ก้าวสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้สนใจเป็นพาร์ทเนอร์ร้านอาหารกับ Robinhood สมัครเลยวันนี้ที่ https://www.robinhood.in.th/merchant/